ลักษณะการทำงาน

ลักษณะการทำงานของระบบสำนักงานอัตโนมัติ
                การทำงานในระดับองค์การต้องการทั้งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในเชิงการพัฒนาและการเป็นผู้ใช้ Software  เป็นสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันมี Software ใหม่ๆ ที่จะคอยช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานของระบบสำนักงานอัตโนมัติ เช่น  ระบบปฏิบัติการ Windows  Linux  NT  เป็นต้น  ซึ่งจะมี Software ที่สามารถทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการของแต่ละชนิดได้เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows  จะมีชุด Microsoft Office  ที่จะคอยอำนวยความสะดวกในการทำงานด้านต่างๆ ของสำนักงานระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์สำหรับธุรกิจวีดีโอคอนเฟอร์เป็นการนำระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมมาใช้ในการสื่อสารภาพ เสียงและข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการประชุมทางธุรกิจหรือสัมมนาระยะไกลระหว่างกลุ่มบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ให้สามารถ ร่วมประชุมสนทนาโต้ตอบกันได้พร้อมทั้งเห็นภาพผู้เข้าร่วมประชุม และยังสามารถแสดงภาพต่างๆ ประกอบ การประชุมได้อีกด้วย นอกเหนือจากการประชุมหรือสัมมนาแล้ววีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ยังสามารถนำไปใช้ ในการฝึกอบรม แก้ปัญหาลูกค้า และช่วยสนับสนุนการนำเสนอสินค้าได้วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์แบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ  คือ
1. วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์แบบนิ่ง (Still Video)
 เป็นการสื่อสารที่แสดงออกมาเป็นภาพนิ่งซึ่งอาจจะมีความต่อเนื่องหลายภาพได้แต่ทุกภาพ ที่ปรากฏบนจอแสดงภาพจะเป็นภาพนิ่งทุกภาพรูปแบบของวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์นี้เป็นลักษณะของการประชุม ทางเสียงประกอบภาพมากกว่า เนื่องจากความสะดวกง่ายดาย และค่าใช้จ่ายที่ต่ำเหมาะแก่การเสนอรูปภาพ เอกสาร แผนผัง หรือ รูปกราฟต่างๆ
2. วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์แบบเคลื่อนไหว ( Motion Video )
 การสื่อสารลักษณะนี้จะเป็นที่นิยมมากกว่าเพราะนอกจากจะส่งภาพของการประชุมที่เป็น ธรรมชาติแล้ว  ยังสามารถส่งภาพนิ่งหรือเอกสารต่างๆ ได้ด้วยข้อดีของวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์แบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ  คือ
 2.1 สามารถลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก
2.2 สามารถประหยัดเวลาในการเดินทาง ทำให้เกิดความสะดวก และรวดเร็ว
2.3 สามารถใช้ข้อได้เปรียบของวีดีโดคอนเฟอร์เรนซ์เหนือคู่แข่งขันด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือ กลยุทธ์ของบริษัทรวมทั้งได้รับความคิดเห็นที่สำคัญต่อการปรับปรุง และพัฒนาได้อย่างทันเหตุการณ์
 หลักการของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลที่ประกอบเป็นเครือข่าย ที่มีการเชื่อมโยง ต้องเชื่อมต่อถึงกัน รูปแบบหลายอย่างตามความเหมาะสมซึ่งขึ้นกับเทคโนโลยี โครงข่ายการเชื่อมโยงนี้เรียกว่าโทโปโลยี  เช่น  ถ้าหากพิจารณาว่าภายในสำนักงานมีอุปกรณ์สำนักงานที่ใช้งานอยู่กระจัดกระจาย และต้องการเชื่อมโยงต่อถึงกัน หากต้องการเชื่อมต่อโดยตรงจะต้องใช้สายเชื่อมโยงมาก ดังรูปที่ 1

                ปัญหาของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เทอร์มินัลหลายๆ ครั้ง  เห็นจะได้แก่ สายเชื่อมโยงระหว่างสถานีที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และระบบการสวิตซ์เพื่อใช้เชื่อมโยงข้อมูลในการสื่อสารระหว่างสถานี หากใช้สถานีมากขึ้นการเชื่อมโยงต้องใช้สายมากขึ้นอีกมาก และขณะที่สถานีหนึ่งทำงานก็จะใช้เส้นทางตรงไปยังอีกสถานี ทำให้การใช้สายสัญญาณไม่เต็มประสิทธิภาพ

รูปที่ 1  การต่อเชื่อมโดยตรง


จึงมีความพยายามที่จะหารูปแบบการลดจำนวนสายสัญญาณเพิ่มประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่าย ซึ่งก็มีโทโปโลยีในการใช้สื่อสารหลายรูปแบบ ดังรูปที่ 2


รูปแบบดาวมีรูปแบบการต่อโดยการนำสถานีต่างๆ หลายสถานีต่อรวมกันเป็นหน่วยสวิตชิงกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรสวิตชิง การทำงานของหน่วยสวิต ชิงกลาง จึงคล้ายกับศูนย์กลางของการตัดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่างๆ ที่ต้องการติดต่อกัน
 รูปแบบวงแหวนประกอบด้วยสัญญาณข้อมูลจากสถานีต่าง ๆ ที่เรียกว่า รีพีตเตอร์ (repeter) ทำหน้าที่รับข้อมูลจากสถานีแล้วต่อไปยังรีพีตเตอร์ตัวถัดไปเรื่อยๆ เป็นรูปวงกลม หากข้อมูลที่ส่งเป็นสถานีใด รีพีตเตอร์ของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานี รีพีตเตอร์จึงมีหน้าที่รับข้อมูลและตรวจสอบว่าเป็นของตนเองหรือไม่  ถ้าใช่ก็รับไว้  ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป
 รูปแบบบัสและทรีเป็นรูปแบบที่มีผู้นิยมใช้มากแบบหนึ่ง เพราะมีโครงสร้างไม่ยุ่งยาก และไม่ต้องใช้รีพีตเตอร์หรืออุปกรณ์สวิตชิ่งเหมือนแบบวงแหวน หรือรูปดาว ทุก ๆ สถานีจะเชื่อมต่อเข้าหาบัสโดยผ่านทางอุปกรณ์อินเตอร์เฟสที่เป็นฮาร์ดแวร์ การจัดส่งข้อมูลลงบนบัสจึงสามารถทำให้ข้อมูลไปถึงอุปกรณ์ทุกสถานีได้ การจัดส่งในวิธีนี้จึงต้องมีการกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการจัดแบ่งอาจแบ่งช่วงเวลา หรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณแตกต่างกัน 

ความสำคัญอยู่ที่การทำให้ทุกสถานีสื่อสารถึงกันได้

                หากพิจารณาว่าภายในองค์กรหนึ่งเสมือนมีโครงข่ายข้อมูลอยู่โครงข่ายหนึ่ง  ดังนั้นทุกๆ สถานีจะต่อร่วมเข้าหาโครงข่ายนี้ หรือหากมองภาพที่กว้างออกไป เช่น  ธนาคารแห่งหนึ่งมีสาขาอยู่ทั่วประเทศ คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลอื่น เช่น เอทีเอ็มทุกตัวก็เชื่อมเข้ากับเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเช่นกัน โครงข่ายสื่อสารข้อมูลที่อยู่ในพื้นที่จำกัด ก็เรียกว่าระบบโครงข่ายท้องถิ่น (แลน-LAN - Local Area Network)  หากอยู่ระหว่างห่างไกลกันมากๆ ก็เรียกว่า  แวน (WAN - Wide Area Network)  ไม่ว่าจะเป็นโครงข่ายอย่างไรอาจเขียนแทนได้  ดังรูปที่ 3

รูปที่ 3 สถานีต่าง ๆ ต่อเข้ากับโครงข่ายสื่อสารข้อมูล

 ภายในโครงข่ายไม่ว่าจะใช้โทโพโลยีอย่างไร จะทำหน้าที่สำคัญในการสวิตช์ข้อมูลจากสถานีหนึ่งให้ไปยังปลายทางอีกสถานีหนึ่งได้อย่างถูกต้อง เช่น สถานี A เป็นเวิร์ดโปรเซสเซอร์ เมื่อป้อนเอกสารจบแล้วต้องการส่งเป็นอีเมล์ (Email)  ไปยังสถานี B ที่อยู่บนเครือข่าย ผู้ใช้ก็จ่าหน้าบอกแอ็ดเดรสของสถานี B แล้วส่งเข้าไปในเครือข่าย เครือข่ายจะสวิตช์ข้อมูลให้ไปยังเส้นทางที่ถูกต้อง เพื่อส่งเข้าหาสถานี B การสวิตช์ข้อมูลในเครือข่ายจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและเป็นหัวใจของการติดต่อสื่อสารในระบบสำนักงานอัตโนมัติ

การสวิตช์ข้อมูลมีหลายแบบ
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สวิตช์ข้อมูลเราเรียกว่า ชุมสายสื่อสารข้อมูล ดังนั้นชุมสายโทรศัพท์ที่เรารู้จักคุ้นเคยกันดีก็เป็นวิธีการสวิตช์ข้อมูลวิธีหนึ่ง ผู้ที่ใช้โมเด็มเชื่อมโยงเข้ากับข่ายโทรศัพท์และต่อเข้าหากันได้ก็ใช้เครือข่าขององค์การโทรศัพท์ฯ หรือใช้ชุมสายภายในที่เรียกว่า PABX นั่นเอง 
วิธีการของชุมสายสื่อสารข้อมูลที่อยู่ในเครือข่ายที่ใช้กันโดยทั่วไป สามารถแบ่งตามหลักการทางเทคนิคได้ 3 แบบ  คือ  ชุมสายเซอร์กิตสวิตชิ่ง (Circuit Switching)  ชุมสายแมสเซจสวิตชิ่ง (Message Switching)  และแพ็กเกตสวิตชิ่ง (Packet Switching)

ชุมสายเซอร์กิตสวิตชิ่ง

หากระบบสำนักงานทั่วไปมีตู้ชุมสาย PABX หรือชุมสายโทรศัพท์ติดต่อภายใน และต้องการนำคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลต่อเข้าหากันผ่านชุมสายโทรศัพท์ดังกล่าวนี้ หรือจะผ่านไปยังชุมสายขององค์การโทรศัพท์ฯ ก็ถือว่าเป็นการสวิตช์ข้อมูลแบบเซอร์กิตสวิต  ชิ่งการติดต่อแต่ละครั้ง  ชุมสายจะทำงานเชื่อมโยงวงจรจากผู้เรียกไปยังผู้ถูกเรียก ซึ่งเปรียบได้กับการเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ทั้งสองโดยตรง  ในขณะนี้วงจรที่ใช้อยู่ผู้อื่นจะเรียกใช้ไม่ได้  การติดต่อระหว่างสถานีจึงเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาที่วงจรยังต่ออยู่  ในระบบนี้มีข้อเสียตรงที่หากคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลติดต่อกับศูนย์ข้อมูล ในการเรียกค้นข้อมูลเป็นระยะจะทำให้มีช่วงเวลาที่สายสัญญาณไม่มีการใช้และผู้อื่นก็ใช้ไม่ได้  การติดต่อผ่านเซอร์กิตสวิตชิ่งจึงเหมาะกับการใช้สื่อสารข้อมูลที่มีการโต้ตอบกันตลอดเวลาด้วยปริมาณสูง และการเชื่อมโยงอุปกรณ์ระหว่างสถานีต้นทางกับปลายทางต้องตกลงและใช้มาตรฐานเดียวกัน ชุมสายเซอร์กิตสวิตชิ่งในระบบสำนักงานอัตโนมัติก็มีการใช้กันอยู่แล้วในกลุ่มจำพวกโทรศัพท์ โทรสาร หรือสื่อสารข้อมูลผ่านโมเด็ม ทั้งผ่านชุมสายภายในหรือชุมสายภายนอก รูปแบบการติดต่อสื่อสาร  ดังรูปที่ 4  การติดต่อสื่อสารข้อมูลนี้ผู้ใช้จะต้องมีระบบซอฟต์แวร์ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเอง เพราะชุมสายจะไม่มีระบบตรวจสอบข้อมูลในชุมสายทำหน้าที่เพียงการสวิตช์วงจรให้เท่านั้น

รูปที่ 4 คอมพิวเตอร์ A ติดต่อกับศูนย์ข้อมูล B ผ่านชุมสายเซอร์กิตสวิตชิ่ง เช่นชุมสายโทรศัพท์

ชุมสายแมสเซจสวิตชิ่ง พัฒนาการก้าวต่อมา
ชุมสายแมสเซจสวิตชิ่ง เป็นระบบที่ใช้เทคนิคของการสื่อสารข้อมูลที่ให้ชุมสายมีความชาญฉลาดเพิ่มขึ้น ชุมสายจะเสมือนเป็นคอมพิวเตอร์ที่รับข้อมูลมาเก็บและส่งต่อผ่านออกไปที่เรียกว่า Stort and Forward การติดต่อจึงไม่ต้องเชื่อมโยงวงจรจากสถานีต้นทางกับสถานีปลายทางอย่างจริงๆ เหมือนกับเซอร์กิตสวิตชิ่ง ผู้เรียกสามารถส่งข้อมูลออกไปยังผู้ถูกเลือกเส้นทางที่เหมาะสมได้ ก็จะส่งต่อไปยังชุมสายถัดไป และจะกระทำแบบนี้จนถึงผู้ถูกเรียก จะเห็นว่ามีการหน่วงเวลาระหว่างผู้เรียกกับผู้ถูกเรยก แต่ก็ทำให้การใช้สายภายในระหว่างชุมสายมีประสิทธิภาพมากขึ้น และการติดต่อระหว่างผู้เรียกกับผู้ถูกเรียก ก็มีการรับประกันเรื่องความถูกต้องข้อมูล ทำให้ระบบเชื่อมต่อระหว่างสถานีอาจแตกต่างกันได้ เพราะชุมสายจะเปลี่ยนไป ชุมสายแบบนี้จึงไม่เหมาะกับงานประเภทโต้ตอบทันที เพราะจะมีเวลาหน่วงในระบบสูง และจะแปรตามปริมาณข้อมูล พัฒนาการแบบนี้ได้รับการนำมาใช้ในการส่งเทเล็กซ์ถึงกัน ซึ่งเวลาหน่วงในระบบไม่ใช่ปัญหาสำคัญระบบสำนักงานอัตโนมัติจึงไม่นิยมใช้หลักการสื่อสารแบบนี้

สื่อสารข้อมูลแบบแพ็กเกตสวิตชิ่ง
ระบบแลน (LAN) ที่ใช้ในสำนักงานที่ใช้ระบบบัส หรือทรี จะมีการส่งข้อมูลในลักษณะนำข้อมูลมาแพ็กลงซอง จ่าหน้าซองแล้วส่งออกไปในบัส สถานีปลายทางตรวจสอบพบซองที่จ่าหน้าถึงตนเองก็จะเก็บซองนั้นขึ้นมา หากข้อมูลที่ส่งจากสถานีต้นทางไปยังสถานีปลายทางต้องผ่านหลายชุมสาย ก็ใช้หลักการคล้ายระบบแมสเซจสวิตชิ่ง กล่าวคือ ระบบจะเก็บข้อมูลและส่งต่อเช่นเดียวกัน แต่จะต่างกันตรงที่แพ็กเกต-สวิตชิ่งจะแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยๆ เรียกว่า แพ็กเกต แต่ละแพ็กเกตจะถูกทยอยส่งผ่านชุมสายจุดต่างๆ จนถึงปลายทาง ซึ่งปลายทางก็จะรวมแพ็กเกตต่างๆ ให้กลับเป็นข้อมูลเดิมโดยสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง การที่ข้อมูลถูกแบ่งออกเป็นแพ็กเกตย่อย ทำให้ชุมสายไม่ต้องคอยรับข้อมูลทั้งหมดให้ครบก่อน เป็นผลทำให้ลดช่วงเวลาหน่วงลง จึงทำให้ระบบนี้สามารถใช้กับงานแบบโต้ตอบทันทีได้ ข้อดีของชุมสายแบบแพ็กเกตสวิตชิ่งที่เห็นได้ชัดคือ อุปกรณ์ต้นทางกับปลายทาง สามารถส่งด้วยความเร็วที่ต่างกันได้ เพราะชุมสายจะเป็นผู้แปลงสัญญาณ ให้ความเร็วเข้ากันได้ มีการรับประกันความถูกต้องของข้อมูลที่รับส่งทำให้ระบบมีความเชื่อถือสูง สามารถใช้ในระบบที่โต้ตอบด้วยความเร็วได้ มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โครงข่ายดังกล่าวนี้ทำให้ใช้งานพร้อมกันหลายๆ ระบบได้  โดยงานประยุกต์แต่ละระบบไม่ยุ่งเกี่ยวกัน  แต่ใช้ผ่านชุมสายเดียวกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น